วันเสาร์, กรกฎาคม 12, 2551

Protocol คืออะไรคือ ระเบียบพิธีการในการติดต่อสื่อสาร เมื่อมาใช้กับเทคโนโลยีสื่อสารโทรคมนาคม จึงหมายถึงขั้นตอนการติดต่อสื่อสาร ซึ่งรวมถึง กฎ ระเบียบ และข้อกำหนดต่าง ๆ รวมถึงมาตรฐานที่ใช้ เพื่อให้ตัวรับและตัวส่งสามารถดำเนินกิจกรรมทางด้านสื่อสารได้สำเร็จ แนวคิดด้านสื่อสารข้อมูล หัวใจในการสื่อสารข้อมูลอยู่ที่ว่าจะทำอย่างไรให้อุปกรณ์สื่อสารต่าง ๆ สื่อสารกันได้อย่างอัตโนมัติ โดยเน้นการสื่อสารที่แตกต่างกันทางด้านเครื่องมือ อุปกรณ์และวิธีการต่าง ๆ เช่น คอมพิวเตอร์เมนเฟรมยี่ห้อหนึ่ง ติดต่อผ่านข่ายสื่อสารไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์อีกยี่ห้อหนึ่ง โดยมีผลิตภัณฑ์ที่เชื่อมโยงในระบบสื่อสารที่มาจากหลายบริษัทผู้ผลิต ด้วยแนวคิดนี้ องค์กรว่าด้วยเครื่องมาตรฐานระหว่างประเทศ หรือที่รู้จักกันในนาม ISO จึงได้วางมาตรฐานโปรโตคอลไว้เป็นระดับ เพื่อให้การสื่อสารต่าง ๆ ยึดหลักการนี้และเรียกมาตรฐานโปรโตคอลนี้ว่า OSI PROTOCOL โดยวางเป็นระดับ 7 ชั้น การทำงานของระดับโปรโตคอลใน LAN ระบบ LAN ที่นิยมและแพร่หลายในปัจจุบัน ได้แก่ Ethernet, Token Ring และ FDDI โปรโตคอลที่ใช้ประกอบเป็น LAN ตามมาตรฐานข้อกำหนด จึงจัดอยู่ในระดับโปรโตคอลระดับ 1 และ 2 เท่านั้น อีเทอร์เน็ต (Ethernet) เป็น LAN ที่มีผู้นิยมใช้กันมาก อีเทอร์เน็ตมีโปรโตคอลในระดับชั้นฟิสิคัล (Physical) ได้หลายรูปแบบ ตามสภาพความเร็วของการรับส่งข้อมูล รูปแบบสัญญาณและตัวกลางที่ใช้รับส่ง การกำหนดชื่อของ LAN แบบนี้ใช้วิธีการกำหนดเป็น XXBASEY เมื่อ XX คือความเร็ว BASE คือวิธีการส่งสัญญาณเป็นแบบ Digital Baseband ส่วน Y คือตัวกลางที่ใช้ส่งสัญญาณ เช่น 10BASE2 หมายถึงส่งความเร็ว 10 เมกะบิต แบบ Thin Ethernet ตัวกลางเป็นสายโคแอกเชียล 10BASE-T หมายถึงส่งความเร็ว 10 เมกะบิต แบบสาย UTP และถ้า 10BASE-FL ก็จะเป็นการใข้สายเส้นใยแก้วนำแสง สัญญาณทางไฟฟ้าของอีเทอร์เน็ตเป็นแบบดิจิตอล จึงทำให้มีข้อจำกัดในเรื่องระยะทางที่ใช้ระเบียบข้อกำหนดเหล่านี้จึงอยู่ในกลุ่มโปรโตคอลระดับฟิสิคัล ส่วนในระดับโปรโตคอลดาต้าลิงค์เป็นวิธีการกำหนดแอดเดรสระหว่างกันในเครือข่าย ซึ่งแต่ละสถานีจะมีแอดเดรสเป็นตัวเลขขนาด 48 บิต การรับส่งเป็นการสร้างข้อมูลเป็นแพ็กเก็ตเรียกว่า "เฟรม" การส่งข้อมูลมีวิธีการใส่ข้อมูลแอดเดรสต้นทางและปลายทางและส่งกระจายออกไป ผู้รับจะตรวจสอบแอดเดรสของเฟรมถ้าตรงกับแอดเดรสตนก็จะรับข้อมูลเข้ามา โปรโตคอลชั้นเน็ตเวิร์คในระดับสามนี้ทำหน้าที่เชื่องโยงระหว่างเครือข่ายย่อย เราอาจเรียกโปรโตคอลนี้ว่า เราติ้งโปรโตคอล (Routing Protocol) การกำหนดเส้นทางนี้จะต้องวางมาตรฐานกลางสำหรับการเชื่อมโยงอุปกรณ์ ซึ่งมาจากระดับล่างหลาย ๆ มาตรฐาน วิธีการหนึ่งที่นิยมคือ การกำหนดแอดเดรสของอุปกรณ์ระดับล่างใหม่ และให้แอดเดรสเป็นมาตรฐานกลาง เช่น การใช้โปรโตคอลดินเตอร์เน็ต (IP) ทุกอุปกรณ์มีแอดเดรสของตนเองมีการสร้างรูปแบบฟอร์แมตข้อมูลใหม่ที่เรียกว่า แพ็กเก็ต (Packet) ดังนั้น โปรโตคอลในระดับนี้จึงรับส่งข้อมูลกันเป็นแพ็กเก็ต ทุกแพ็กเก็ตมีการกำหนดแอดเดรสต้นทางและปลายทางโดยไม่ต้องคำนึงว่าระดับล่างที่ใช้นั้นคืออะไร อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่รับส่ง และรับรู้โปรโตคอลในระดับเน็ตเวิร์คนี้จะทำหน้าที่เป็นแปลงแพ็กเก็ตให้เข้าสู่เฟรมข้อมูลในระดับสอง และรับเฟรมข้อมูลระดับสองเปลี่ยนมาเป็นแพ็กเก็ตในระดับสามเช่นกัน ข้อเด่นในที่นี้ คือ ทำให้สามารถเชื่อม LAN ทุกมาตรฐานเข้าด้วยกันได้ ในระดับนี้ยังมีมาตรฐานโปรโตคอลอื่น ๆ เช่น IPX ของบริษัทแน็ตแวร์ เป็นต้น ลองนึกเลยต่อไปว่า ขณะที่เราใช้โปรแกรมวินโดว์ส 95 เป็นเครื่องไคลแอนต์ (Client) ต่อเข้าสู่อินเทอร์เน็ตเชื่อมไปยังเครื่องให้บริการ (เซิร์ฟเวอร์) เครื่องใดเครื่องหนึ่ง นั่นหมายความว่า เราเชื่อมกันในระดับ 3 คือใช้ IP โปรโตคอล ทำให้ไม่ต้องคำนึงว่าทางฝ่ายไคลแอนต์หรือเซิร์ฟเวอร์ใช้ LAN แบบใด เครื่องไคลแอนต์ที่ใช้วินโดว์ส 95 ทำให้สามารถเปิดงานได้หลาย ๆ วินโดว์สพร้อมกันได้ ดังนั้นในเครื่องหนึ่งมีแอดเดรสในระดับสามตัวเดียว เชื่อมไปยังเซิร์ฟเวอร์ที่มีแอดเดรสในระดับสามตัวเดียวเช่นกัน แต่เปิดงานหลายงานได้ ดังนั้นจึงจำเป็นต้องสร้างโปรโตคอลในระดับสี่ แยกงานต่าง ๆ เหล่านี้ออกจากกันเราเรียกว่า โปรโตคอลระดับ 4 ว่า "ทรานสปอร์ต" (Transport)" ในระดับ 4 ก็มีแอดเดรสแยกอีก แต่คราวนี้เราเรียกว่า "หมายเลขพอร์ต" ซึ่งจะทำให้ตัวรับและตัวส่ง ทั้งฝ่ายไคลแอนต์และเซิร์ฟเวอร์ติดต่อแอดเดรสIP เดียวกัน แต่แยกกันด้วยโปรโตคอลระดับ 4 ในกรณีของอินเทอร์เน็ตจึงมีโปรโตคอล TCP (Transmission Control Protocol) เป็นตัวแยกที่ทำให้คอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งสามารถติดต่อกับเครื่องอื่นได้หลาย ๆ งานพร้อมกัน การแบ่งแยกกลุ่มโปรโตคอลนี้เป็นหนทางอันชาญฉลาดของผู้ออกแบบที่ทำให้ระบบสื่อสารข้อมูลดำเนินไปอย่างมีระบบ จนสามารถประยุกต์ใช้งานได้อย่างกว้างขวางสำหรับโปรโตคอลที่มีผู้ใช้งานมากที่สุดในโลกคือ TCP/IP สำหรับโปรโตคอลอื่นๆ อีก เช่น โปรโตคอล IPX/SPX โปรโตคอล NetBIOS และโปรโตคอล AppleTalk เป็นต้น โปรโตคอล TCP/IPTransmission Control Protocol / Internet Protocol เป็นเครือข่ายโปรโตคอลที่สำคัญมากที่สุด เนื่องจากเป็นโปรโตคอลที่ใช้ในระบบเครือข่าย Internet รวมทั้ง Intranet ซึ่งประกอบด้วย 2 โปรโตคอลคือ TCP และ IP โปรโตคอล IPX/SPXพัฒนาโดยบริษัท Novell ซึ่งเป็นผู้พัฒนาระบบปฏิบัตการเครือข่าย Netware ที่นิยมมากตัวหนึ่งของโลก โปรโตคอล IPX/SPX แบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ IPX (Internetwok Packet Exchange) และ SPX (Sequenced Packet Exchange) โปรโตคอล NetBIOSNetwork Basic Input/Output System ความจริงแล้ว NetBIOS ไม่ใช่โปรโตคอล แต่ที่จริงเป็น ไลบรารีของกลุ่มคำสั่งระบบเครือข่าย หรือ API (Application Programming Interfac) การใช้งาน NetBIOS จะใช้ในลักษณะของกลุ่มคอมพิวเตอร์ในระบบปฏิบัติการ Windows หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า workgroupโปรโตคอล AppleTalkพัฒนาโดยบริษัท Apple Computer เป็นโปรโตคอลที่ใช้สำหรับสื่อสารในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ Macintosh โดยเฉพาะ นอกจากนี้ Apple ยังได้มีการพัฒนาโปรโตคอลเพิ่ม เพื่อใช้เชื่อมกับระบบเครือข่ายแบบ Ethernet และ Token Ring โดยตั้งชื่อว่า Ether Talk และ TokenTalk เป็นต้น

Router

ส่ง Router
1. เครือข่ายอินเทอร์เน็ต ที่เรียกว่า "ไอพีแอดเดรส" (IP Address) แพ็กเก็ตข้อมูลทุกแพ็กเก็ตมีกี่บิต
ก.8 บิต
ข.16บิต
ค.32บิต
ง.64บิต
เฉลย ข้อ ค .32บิต
2. Router คืออะไร
ก. Router เป็นอุปกรณ์ที่ซับซ้อนกว่า Bridge โดยทำงานเสมือนเป็นเครื่อง
ข.โดยอาจส่งในรูปแบบของ packet ที่ต่างออกไปเพื่อไปผ่านสายสัญญาณแบบอื่นๆ
ค.ทำหน้าที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังปลายทาง
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ข้อ ง. ถูกทุกข้อ
3. การส่งข้อมูลก็จะบรรจุข้อมูลนั้นเป็น packet ในรูปแบบของ Layerกี่รูปแบบ
ก.1 รูปแบบ
ข. 2 รูปแบบ
ค. 3 รูปแบบ
ง. 4 รูปแบบ
เฉลย ข้อ ข. 2 รูปแบบ
4. อุปกรณ์ที่ทำหน้าที่คัดแยกแพ็กเก็ต หรือเรียกว่าอีกอย่างหนึ่งว่าอะไร
ก. สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล
ข.เราเตอร์แพ็กเก็ต
ค.บริดจ์แพ็กเก็ต
ง.ไอพีแอดเดรสแพ็กเก็ต
เฉลย ข้อ ก. สวิตช์แพ็กเก็ต ข้อมูล
5. หน้าที่รับข้อมูลเข้ามาแล้วส่งต่อไปยังอะไร
ก. ต้นทาง
ข.ปลายทาง
ค.ข้อมูล
ง.ถูกทุกข้อ
เฉลย ข้อ ข.ปลายทาง

การเขียนโปรแกรม OOP

  • ตอบ: เมท ธอด ที่มีชื่อซ้ำกันในคลาส; ตัวแปรก็สามารถตั้งซ้ำกันได้ในโปรแกรม แต่ต้องอยู่กันคนละขอบเขต เป็นความสามารถของตัวแปรภาษา ที่จะตัวสอบ Signature ของ Function แล้วแปลออกมาได้อย่างถูกต้อง
    2. Polymorphism คืออะไร
  • ตอบ: Polymorphism คือ การ inherit แล้วเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติบางอย่างของ base class โดยทำภายใน derived class จึงไม่ต้องเปลี่ยนแปลงโค้ดใน base class
    3. Inheritance คืออะไร
  • ตอบ: Inheritance คือหลักการสำคัญหนึ่งในสามหลักการของ OOP หลักการนี้ มีไว้เพื่อให้สามารถต่อยอดงานใหม่ จากงานเดิมที่เคยทำไว้แล้ว โดยไม่ต้องเริ่มจากศูนย์

วันศุกร์, กรกฎาคม 11, 2551

เราท์เตอร์

เราท์เตอร์ เป็นอุปกรณ์ที่ทำหน้าที่เชื่อมต่อระบบเครือข่ายหลายระบบเข้าด้วยกัน คล้ายกับบริดจ์ แต่มีส่วนการ ทำงานที่ซับซ้อนมากกว่าบริดจ์มาก โดยเราท์เตอร์จะมีเส้นทางการเชื่อมโยงระหว่าง แต่ละเครือข่ายเก็บไว้เป็นตารางเส้นทาง เรียกว่า Routing Table ทำให้เราท์เตอร์สามารถทำหน้าที่จัดหาเส้นทางและเลือกเส้นทางที่เหมาะสมที่สุดในการเดินทาง เพื่อการติดต่อระหว่างเครือข่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ

วันเสาร์, กรกฎาคม 05, 2551

ATM Cell

จงหา Call

Call Arri 2,4,7

1 ใช้สี แดง
2 ใช้สีเ ขียว
4 ใช้สี ชมพู
7 ใช้สี น้ำเงิน

VB.NET

1. เมดธอด (Method) คือ
ก. การกำหนดลักษณะในการเปลี่ยนขนาดของฟอร์มว่าเป็นอย่างไร
ข. เหตุการณ์ที่เกิดขึ้นกับฟอร์ม หรือคอนโทรลที่เราสามารถใส่คำสั่งเพื่อตอบสนองได้
ค. การสั่งให้ฟอร์มและคอนโทรลทำงานตามที่เราร้องขอไปในการสั่งให้ปุ่มคำสั่งทำงานตามที่เราร้องขอ
ง. ฟอร์มและคอนโทรลต่างๆ ที่มีใน VB.NET
เฉลย ค. การสั่งให้ฟอร์ม และคอนโทรลทำงานตามที่เราร้อง ขอไป ในการสั่งให้ปุ่มคำสั่งทำงานตามที่เราร้องขอ

2. ข้อใดเป็นเครื่องมือที่ใช้ในการออกแบบหน้าจอโปรแกรม
ก. Label
ข. Splitter
ค. NotifyIcon
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ง. ถูกทุกข้อ

3. Visual Basic.NET เป็นภาษาที่พัฒนาต่อจาก Visual Basic ใด
ก. Visual Basic 5.0
ข. Visual Basic 6.0
ค. Visual Basic 7.0
ง. ถูกทั้ง ข. และ ค.
เฉลย ง. ถูกทั้ง ข. และ ค.

4. เมนูทูลบอกซ์ ใช้ทำอะไร
ก. เป็นที่แสดงเครื่องมือต่างๆ ที่เราเรียกว่า คอนโทรล ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เราสามารถเลือกไปวางลงบนฟอร์มได้ เพื่อออกแบบหน้าจอของโปรแกรม
ข. เป็นหน้าต่างที่ใช้ในการออกแบบหน้าจอโปรแกรม
ค. เป็นหน้าต่างที่แสดงโปรเจกต์ต่างๆที่มีใน Solutionโดยแต่ละโปรเจกต์ก็จะมีโมดูล (Modules) ต่างๆ อยู่
ง. เป็นหน้าต่างที่แสดงคุณสมบัติของคอนโทรลที่เลือกอยู่ในขณะนั้น
เฉลย ก. เป็นที่แสดงเครื่องมือต่างๆ ที่เราเรียกว่า คอนโทรล ซึ่งเป็นเครื่องมือที่เราสามารถเลือกไปวางลงบนฟอร์มได้ เพื่อออกแบบหน้าจอของโปรแกรม

5. Visual Basic.NET เป็นภาษาหนึ่งที่อยู่ในชุดเครื่องมือ Microsoft Studio.NET โดยจะใช้ IDE (IntegratedDevelopment Environment) รวมกับภาษาอื่นอีก 3 ภาษา คืออะไรบ้าง
ก. Visual C#
ข. Visual C++
ค. Visual J#
ง. ถูกทุกข้อ
เฉลย ง. ถูกทุกข้อ